โครงการสาธารณกุศลเพื่อการฝึกพูดผู้ที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ฯ ประจำปี พ.ศ. 2554 (โครงการต่อเนื่อง)

จากปัญหาความขาดแคลนบุคลากรนักเวชศาสตร์การสื่อความหมาย มูลนิธิตะวันฉายฯ ได้สนับสนุนงบประมาณโครงการสาธารณกุศลเพื่อการฝึกพูดผู้ที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ฯ ในปี พ.ศ. 2553 แก่นักเวชศาสตร์การสื่อความหมาย สังกัดภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 2 อัตรา ได้แก่ นางสาวเพชรรัตน์ ใจยงค์ และนางสาวชลดา สีพั้วฮาม เพื่อปฏิบัติงานร่วมกับทีมสหวิทยาการในการให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ โดยมีบทบาทหน้าที่ในด้านต่างๆ ดังนี้ การตรวจคัดกรองผู้ป่วยรายใหม่ การตรวจวินิจฉัยปัญหาทางภาษาและการพูด -การออกเสียงพูดไม่ชัด -พัฒนาการทางภาษาและการพูดล่าช้า การบำบัด แก้ไขและฟื้นฟู -การออกเสียงพูดไม่ชัด -พัฒนาการทางภาษาและการพูดล่าช้า การบำบัด แก้ไขและฟื้นฟูสมรรถภาพทางภาษาและการพูด การให้คำแนะนำและความรู้ การส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการ การส่งต่อผู้รับบริการ การออกเยี่ยมชุมชน การให้คำแนะนำการบำบัด แก้ไขและฟื้นฟูแก่ผู้ป่วยและผู้ปกครอง การปฏิบัติหน้าอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย รวมถึงการเข้าประชุม และการเข้าอบรมต่างๆ

คุณสลิตา ประวิตรกาญจน์

มูลนิธิตะวันฉายฯ ได้สนับสนุนผู้ที่มีภาวะปากแหว่ง  เพดานโหว่ให้ได้รับโอกาสในการแสดงศักยภาพในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ซึ่งได้สนับสนุน นางสาวสลิตา ประวิตรกาญจน์ ให้ปฏิบัติงานในตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ทะเบียนและประเมินผล โดยมีบทบาทหน้าที่เป็นสื่อกลางในการดำเนินงานให้บริการผู้ป่วยที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่อื่นๆ เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีของการพัฒนาตนเองจนกระทั่งปฏิบัติงานและอยู่ร่วมกับบุคคลในสังคมได้อย่างเป็นปกติ ตามวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานข้อที่ 2 คือสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมในการช่วยเหลือตนเองและครอบครัวและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพและพัฒนาศักยภาพผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า

รางวัลมีชัย วีระไวทยะ ประจำปี พ.ศ. 2554 (สาขาการพัฒนาสังคมชนบท) จากสมาคมพัฒนาประชากรและชุม เนื่องในโครงการเชิดชูผู้ทำความดีเพื่อสังคม โดยมูลนิธิตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชนและมูลนิธิมีชัย วีระไวทยะ ได้พิจารณาคัดเลือกบุคคลและองค์กรที่ทำความดีเพื่อสังคมในสาขาการพัฒนาสังคมชนบท เพื่อรับรางวัลมีชัย วีระไวทยะ (สาขาการพัฒนาสังคมชนบท) ดังกล่าว มีการเสนอผลงานของบุคคลและองค์กรจำนวน 19 ราย เพื่อเข้ารับการพิจารณาคัดเลือก ครอบคลุมงานด้านการพัฒนาชนบทที่หลากหลาย เช่น การส่งเสริมงานด้านเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง งานสาธารณสุขและสุขภาพ งานพลังงานทดแทน การพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชน และการพัฒนาคุณภาพชีวิตสตรี เยาวชน ผู้สูงอายุ และ       ผู้พิการ คณะกรรมการตัดสินเห็นชอบให้  ศ.นพ.บวรศิลป์ เชาวน์ชื่น ประธานกรรมการมูลนิธิตะวันฉาย เพื่อผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่และพิการทางศีรษะและใบหน้า จ.ขอนแก่น เป็นบุคคลที่สมควรยกย่องให้ได้รับรางวัลมีชัย วีระไวทยะ ประจำปี 2554 เนื่องจากเป็นบุคคลที่มีจิตสาธารณะและมีผลงานดีเด่นหลายด้าน โดยเฉพาะ การจัดตั้งโครงการพัฒนาระบบเครือข่ายของทีมงานการดูแลผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้าที่ต้องการการดูแลรักษาแบบองค์รวมและต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ตั้งแต่เด็กจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ โดยมีมูลนิธิตะวันฉายฯ เป็นองค์กรที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ไม่มีการละเลยปัญหาหรือเกิดการรักษาที่ซ้ำซ้อน โดยศ.นพ.บวรศิลป์ เชาวน์ชื่น ประธานกรรมการมูลนิธิตะวันฉายฯ ได้แสดงเจตนารมณ์ในการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ ภายใต้การพิจารณาของคณะกรรมการดำเนินงานเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ป่วยที่ยากไร้ ขาดแคลน ยังมีความผิดปกติหลงเหลืออยู่ หรือยังไม่ได้รับโอกาสทางการรักษา และมุ่งขยายผลการดำเนินงานลงสู่ชุมชนให้มากยิ่งขึ้น ด้วยการส่งเสริมและพัฒนาเครือข่ายผู้ดูแลให้เกิดความเข้มแข็ง เพื่อสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับแนวทางการรักษา การส่งต่อเข้ารับการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพและได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ…

คุณสุวิมล-คุณอริศร์ ยังประภากร บริจาคเงิน จำนวน 5,000 บาท

คุณจรรยพร ยังประภากรและครอบครัว เป็นตัวแทนมอบเงินบริจาคจากคุณสุวิมล-คุณอริศร์ ยังประภากร จำนวน 5,000 บาท และถ่ายภาพร่วมกับทีมทันตแพทย์หญิง ภาควิชาทันตกรรมจัดฟัน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นนักวิจัยภายใต้ศูนย์ตะวันฉาย เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2554

ด.ช.นฤต ยังประภากร พร้อมด้วยคุณพ่อและคุณแม่ บริจาคเงินจำนวน 5,000 บาท

ด.ช.นฤต ยังประภากร พร้อมด้วยคุณพ่อและคุณแม่ บริจาคเงินจำนวน 5,000 บาท รับมอบโดย คุณสุธีรา ประดับวงษ์ กรรมการมูลนิธิและพยาบาลประสานงานฯ ณ ศูนย์ตะวันฉาย เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

คุณจรรยาพร ยังประภากร บริจาคเงินจำนวน 5,000 บาท

คุณจรรยาพร ยังประภากร บริจาคเงินจำนวน 5,000 บาท รับมอบโดย คุณสุธีรา ประดับวงษ์ กรรมการมูลนิธิและพยาบาลประสานงานฯ ณ ศูนย์ตะวันฉาย เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554

คุณรังสี ชาญนุวงศ์ บริจาคเงินจำนวน 1,000 บาท

คุณเครือวัลย์ ชาญนุวงศ์ กรรมการมูลนิธิตะวันฉายฯ เป็นตัวแทนมอบเงินบริจาคจากคุณรังสี ชาญนุวงศ์ จำนวน 1,000 บาท รับมอบโดย คุณสุธีรา ประดับวงษ์ กรรมการมูลนิธิและพยาบาลประสานงานฯ ณ ศูนย์ตะวันฉาย เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554

ศ.นพ.บวรศิลป์ เชาวน์ชื่น และรศ.ดร.เบญจมาศ พระธานี ถวายรายงานผลการดำเนินกิจกรรมแก่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดอาคารสิริคุณากร (อาคารอเนกประสงค์และสารสนเทศ) มหาวิทยาลัยขอนแก่นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553 นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ แก่สภามหาวิทยาลัย คณาจารย์ ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง ศิษย์เก่า และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยขอนแก่นทั้งหมด ในการดังกล่าว ฝ่ายวิจัยและการถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงได้จัดเตรียมนิทรรศการโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ผลงานด้านการวิจัย และผลงานในกิจกรรมต่างๆ ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยศูนย์วิจัยผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภายใต้โครงการตะวันฉาย (ศูนย์ตะวันฉาย) ได้ร่วมจัดแสดงนิทรรศการผลงานด้านการวิจัย และผลงานด้านบริการในนามของมูลนิธิตะวันฉายเพื่อผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ และพิการทางศีรษะและใบหน้า ซึ่งผู้ถวายรายงาน ได้แก่ ศ.นพ.บวรศิลป์ เชาวน์ชื่น ผู้อำนวยการศูนย์ตะวันฉาย และประธานกรรมการมูลนิธิ  ตะวันฉายฯ และ รศ.ดร.เบญจมาศ พระธานี กรรมการศูนย์ตะวันฉายและกรรมการมูลนิธิตะวันฉายฯ โดยได้ถวายรายงานในด้านต่างๆ ได้แก่ การรักษาโดยทีมสหวิทยาการตามช่วงอายุ ผลลัพธ์การรักษา ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นวัตกรรมของศูนย์วิจัย ด้านบทบาทของมูลนิธิตะวันฉายฯ อาทิเช่น การจัดโครงการการฝึกพูดและการดูแลแบบ…

คุณธัญญลักษณ์ ถิรกนกวิไล บริจาคเงินแก่ผู้ป่วยและครอบครัว

คุณธัญญลักษณ์ ถิรกนกวิไล Brand Manager Banana IT บริษัท คอมเซเว่น อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริจาคเงินแก่ผู้ป่วยและครอบครัว เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2553

โครงการการจัดทำค่ายและการฝึกพูดเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ตามรูปแบบในชุมชน

คลินิกฝึกพูด โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา และศูนย์การดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และความพิการแต่กำเนิดของทางศีรษะและใบหน้า มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดโครงการค่ายฝึกพูด สร้างเครือข่ายและต้นแบบการดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ในชุมชน ในด้านการแก้ไขการพูดและการได้ยิน โดยบุคลากรในชุมชนและใช้หลักของการฟื้นฟูสุขภาพในชุมชน ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานและการบริการระดับวิชาชีพ  (Community-Based Model for Speech Therapy) เพื่อให้บริการด้านการฝึกพูดและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วยเหล่านี้ในพื้นที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขต 7 จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่มากเป็นอันดับสองรองจากจังหวัดขอนแก่น1 รวมทั้งจัดการอบรมบุคลากรทางการแพทย์ที่ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการคัดแยกปัญหาทางภาษา การพูด และการได้ยินสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ในโครงการยิ้มสวยเสียงใสปีงบประมาณ 2551 มาแล้วในพื้นภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างต่อเนื่องในด้านการคัดแยกปัญหา ให้คำแนะนำเบื้องต้น และส่งต่อไปยังนักแก้ไขการพูดได้อย่างถูกต้องโดยใช้หลักของการฟื้นฟูสุขภาพในชุมชน ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานและการบริการระดับวิชาชีพ การดำเนินการ จัดค่ายฝึกพูด ระหว่างวันที่ 27-29 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ณ ห้องประชุมอาคารสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีอนุสรณ์ (สว.2) ชั้น 3 โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ติดตามค่ายฝึกพูด 1 วันต่อครั้ง เดือนละ 1 ครั้ง ประมาณ…